วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ไอซีทีผนึกสวนดุสิต จัดอบรม พ.ร.บ.คอมฯ2550





กระทรวงไอซีที จับมือ มรภ.สวนดุสิต จัดอบรมให้ความรู้พ.ร.บ.คอมฯ 2550 2 หลักสูตร ตั้งเป้าให้ทราบถึงวิธีการจัดเก็บระบบ log File รวม 250 คน...

วันที่ 4 ก.ค.นางจีราวรรณย�บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมโครงการให้ความรู้ความเข้าใจ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 หรือ พ.ร.บ.คอมฯ 2550 ครั้ง ที่ 2 ว่า ขณะนี้ ปัญหาสังคมจากโลกออนไลน์ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อประชาชน สังคม และความมั่นคงของประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้น กระทรวงฯ จึงสร้างเกราะป้องกันปัญหาอาชญากรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ ด้วยการจัดทำโครงการ ให้ความรู้ความเข้าใจพ.ร.บ.คอมฯ 2550 ขึ้น เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในกฎหมายฉบับนี้ย�ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกที่ดีในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างถูกต้อง

ทั้งนี้ กระทรวงฯ ได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดการฝึกอบรมครั้งที่ 1 เมื่อเดือนพ.ย. 2552 ที่ผ่านมา เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจใน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรความรู้พื้นฐานและวิธีการเผยแพร่ความรู้ตาม พรบ.คอมฯ 2550 (Training the trainer) สำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการ และหลักสูตร พรบ.คอมฯ 2550 สำหรับ กลุ่มผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ไอเอสพี โดยมุ่งเน้นเนื้อหาสาระเกี่ยวกับรูปแบบการกระทำความผิดตามมาตราต่าง ๆ และบทลงโทษ

ปลัดไอซีที กล่าวต่อว่า ขณะนี้ กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ยังไม่มีการรับรู้ที่เพียงพอ กระทรวงฯ จึงต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง โดยการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จัดการฝึกอบรม ครั้งที่ 2 ขึ้น เพื่อเน้นย้ำให้ประชาชนในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายดังกล่าวเกิด การรับรู้มากขึ้น ใน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระ ทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สำหรับกลุ่มวิทยากรขององค์กร / หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และเอกชน (ICT004) และหลักสูตรสำหรับผู้ให้บริการระบบอินเทอร์เน็ต / Admin (ICT006) เพื่อให้ทราบถึงวิธีการจัดเก็บระบบ log File รวมจำนวนประมาณ 250 คน

“ การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ พรบ.คอมฯ 2550 แต่ลำพังเพียงกระทรวงไอซีที หน่วยงานเดียวนั้น ไม่อาจจะดำเนินการได้ทันกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงต้องแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม อาทิ สถาบันการศึกษา องค์กร/หน่วยงานเอกชน ตลอดจนเครือข่ายประชาชนกลุ่มต่างๆ มาเป็นภาคี เครือข่าย ความร่วมมือ เพื่อร่วมกันสร้างแนวป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยไม่ให้เกิดการกระทำความผิดหรือลดความเสี่ยงที่เกิดจากคอมพิวเตอร์ที่ดีที่สุด และกระทรวง ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตกาลจะได้ขยายความร่วมมือนี้ออกไปให้กว้างขวาง มากยิ่งขึ้น” นางจีราวรรณ กล่าว



ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/tech/183820   (วันที่ 2011-07-04 16:45:00 โดย ไทยรัฐ - ข่าวด่วน)  
           http://www.tispa.or.th/isp_detail.php?id=146